วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 29 ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์ของโลก

ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์ของโลก 




                     ในปี พ.ศ. 2360 จาคอบ เบอร์เซเบียส (Jacob Berzebius) ได้ค้นพบธาตุชนิดหนึ่งและตั้งชื่อว่า ซีลีเนียม ต่อมาเขาได้นำไปประดิษฐ์เป็นโฟโตอีเลคตริกเซลซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าและเซลไฟฟ้าชนิดนี้เองทำให้เกิดโทรทัศน์ขึ้น ในระยะเวลาใกล้ ๆ กัน วิลเลียม ครุก (William Crook) ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าชนิดหนึ่งเรียกว่า หลอดครุก ซึ่งนับว่าเป็นต้นกำเนิดของหลอดรังสีแคโธดในปัจจุบันนี้ ต่อมามีนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการทดลองในเรื่องโทรทัศน์โดยได้รวบรวมเอาความคิดเห็นและผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ เช่นของ จอห์นแอมโบรส เฟลมิง (John ambrose Fleming) และโธมัส เอดิสัน (Thomas A Edison) มาใช้
     ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2407 เจมส์ แมกเวลล์ (James Clerk Maxvell) ได้ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ คลื่นแม่เหล็ก และ คลื่นไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปด้วยกัน แต่คลื่นทั้งสองตั้งฉากกัน ซึ่งต่อมาก็นำมาใช้เป็นคลื่นพาห์ซึ่งเป็นนำคลื่นเสียงในวิทยุและนำทั้งคลื่นเสียงและภาพในโทรทัศน์ เป็นการแพร่สัญญาณจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับซึ่ง รูดอล์ฟ เฮิร์ทซ์ (Rudolph Henrich Hertz) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ผลิตเครื่องมือที่สามารถนำเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารและได้ประกาศให้โลกยอมรับรู้เมื่อ พ.ศ.2429 และให้สื่อสิ่งที่เขาค้นพบว่า คลื่นเฮิร์ทซ์ (Hertzain Wave) และชื่อของเขาก็ได้รับการยกย่องให้ใช้เรียกหน่วยของความถี่คลื่นวิทยุทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้หน่วยของความถี่ (จำนวนที่เคลื่อนที่ผ่านจุดหนึ่งจุดใดในเวลา วินาที) เรียกว่า ไซเกิ้ล
     ในศตวรรษที่ 19 นี้ ได้มีผู้ค้นพบโทรทัศน์ขึ้น คือ ปอล นิพโกว์ (Paul Nipkow) ชาวเยอรมัน ได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้ภาพเป็นเส้นทางบนจอได้ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโทรทัศน์
     ดร.วีเค ชวอร์กิ้น (Dr.V.K. Zworgkin) นักวิทยาศาสตร์ชาวรุสเซียที่โอนสัญชาติเป็นอเมริกัน ได้ค้นพบหลอดจับภาพไปสู่จอภาพที่สมบูรณ์ขึ้น เขาได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์เมื่อปี พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) และให้ชื่อสิ่งที่ค้นพบนี้ว่า ไอโคโนสโคฟ (Iconoscope) ซึ่งไอโคโนสโคฟนี้ใช้ทฤษฎีของ ปอล นิพโกว์
     จอห์น โลจิก แบร์ด (John Logic Baid) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเกิดที่สก๊อตแลนด์ได้อาศัยทฤษฎีของ ปอล นิพโกว์ ค้นคว้าทดลองต่อมาจนแสดงให้ชาวโลกดูได้ว่าเขาสามารถจับภาพเข้าเครื่องส่งแล้วส่งมาออกที่จอภาพที่เครื่องรับโทรทัศน์ได้สำเร็จและแสดงให้นักวิทยาศาสตร์และบุคคลชั้นนำของประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2469 และสถานีวิทยุบีบีซี (British Broadcasting Corporation) ก็ได้นำสิ่งประดิษฐ์ของแบร์ดไปทดลองออกอากาศให้คนอังกฤษได้ชมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2472
     สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกคือ บีบีซี ของอังกฤษแพร่ภาพออกสู่ประชาชนเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ.2479ได้มีพิธิเปิดแพร่ภาพเป็นครั้งแรกที่พระราชวังอเล็กซานด้าในกรุงลอนดอน โดยได้ใช้วิธีการสแกนภาพระบบของแบร์ด ในขณะนั้นทั่วประเทศอังกฤษมีเครื่องรับเพียง 100 เครื่องเท่านั้น แพร่ภาพครั้งหนึ่งไม่เกิน ชั่วโมง จัดเป็นช่วงแพร่ภาพ ช่วง ภาพที่เครื่องรับกว้าง 10 นิ้ว ยาว 12นิ้ว ราคาเครื่องละประมาณ 6,000 บาท ในสมัยนั้นนับว่าแพงมาก แต่ในชั่วระยะเวลา ปี ในอังกฤษก็มีเครื่องรับถึง 3,000 เครื่อง
     ในสหรัฐอเมริการได้ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นเครือข่ายร่วมกันทดลอง 17 สถานี ในปี พ.ศ.2480 ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้สร้างสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกในมลรัฐนิวยอร์ก โดยบริษัทซีบีเอส ปีถัดมาคือ พ.ศ.2482 บริษัทเอ็นบีซี แพร่ภาพออกอากาศเช่นกัน
     จากเอกสารของ UNESCO ได้แสดงรายการของการตั้งสถานีโทรทัศน์ของประเทศต่าง ๆ ดังนี้คือ
ปี พ.ศ. 2493 เม็กซิโก
ปี พ.ศ. 2494 อาเยนตินา บราซิล เนเธอร์แลนด์ สเปน
ปี พ.ศ. 2496 สาธารณรัฐเชค ญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ สวิสเซอร์แลนด์
ปี พ.ศ. 2479 บัลโคลัมโบ เดนมาร์ค อิตาลี โมรอคโค นอร์เวย์ เปอโตริโก สวีเดน
ปี พ.ศ. 2498 ไอซ์แลนด์ ลัคเซมเบอร์ค ประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2499 อัลยิเรีย ออสเตรเลีย ไซปรัส เอลซาลวาดอร์ กัวเตมาลา อีรัค เกาหลี นิคารากัว ปอร์ตุเกส อุรุกวัย
ปี พ.ศ. 2500 ฟินแลนด์ ฮ่องกง รูมาเนีย ซาอุดิอารเบีย
ปี พ.ศ. 2501 เบอมิวดา จีน อิหร่าน ฮังการี
ปี พ.ศ. 2502 ไฮติ ฮอนดูรัส อินเดีย เลบานอน นิวซีแลนด์ ไนยีเรีย และปานามา
ปี พ.ศ. 2503 อียิปต์ คอสตาริกา โรดิเซีย ซีเรีย
ปี พ.ศ. 2504 อัลบาเนีย โบลิเวีย กัมพูชา ไอร์แลนด์ แซมเบีย
ปี พ.ศ. 2505 ไอวอรี่โคลท์ เคนยา มัลตา ซีราลิออน ไต้หวัน ทรินแดด โตมาโก
ปี พ.ศ. 2506 กามอน มาเลเซีย และสิงคโปร์

ที่มา ww.thaigoodview.com/node/10754 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น