วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 19 เก็บตก สาระและความประทับใจ ใน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

เก็บตก สาระและความประทับใจ ใน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล 



 สาระที่ได้ในวันนี้ 
ในส่วนชั้นหนึ่ง จัดแสดงปลาต่างๆ
                  สำหรับส่วนที่จัดแสดงไว้ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสนนี้ เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณที่เป็นหาดหิน และมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกกันทั่วไปว่า "แอ่งน้ำขึ้น-น้ำลง" (Tidal Pool) ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯลฯ

                    บริเวณแนวปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความ อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล เพราะสัตว์ทะเลหลาย ชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบ ซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แล้ว ยังใช้เป็นที่สำหรับผสมพันธุ์ วางไข่ และเจริญเติบ โตของสัตว์ตัวอ่อนอีกด้วย สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นปลาที่มีขนาดและมีสีสันสวย งาม เช่น ปลาสลิด ปลาการ์ตูน ปลาเขียวพระอินทร์ ปลาผีเสื้อ และปลาโนรี เป็นต้น
                       สิ่งมีชีวิตในทะเลเหมือนกับสิ่งมีชีวิตบน บกคือ มีการอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบที่ เรียกว่า "ซิมไบโอซิส" (Symbiosis) ซึ่งหมายถึงการที่สิ่ง มีชีวิตสองชนิดอาศัยอยู่รวมกัน หรืออยู่ ปนกันโดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่ง กันและกัน เช่น ปลาการ์ตูน หรือ ปลาอินเดียแดงสามารถอยู่ร่วมกับ ดอกไม้ทะเล (sea anemone) ได้ โดยที่ปลา เหล่านี้จะอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบ ภัยและสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลจะได้รับ ประโยชน์จากปลาโดยการล่อเหยื่อหรือชัก นำเหยื่อให้เข้ามาใกล้พอที่ดอกไม้ทะเล จะจับเป็นอาหารได้ 

                           เป็นสัตว์โครงร่างแข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัว และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ เช่น หอย หมึก กุ้ง หนอนทะเล และ ฟองน้ำ 

                           ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

                             ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด รวมถึงปลาบางชนิดที่รับประทานแล้วเป็นพิษต่อมนุษย์

                               ในทะเลและมหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่กำบังและหลบภัย อาศัยอยู่มากในช่วงความลึกไม่เกิน 1,000 เมตร จากผิวน้ำ ได้แก่ ปลาที่เรารู้จักดี เช่น ปลาโอ ปลากะพงขาว ปลาหมอทะเล ปลาอินทรีย์ ปลากระเบน ปลาหมอทะเล ปลาฉลาม เป็นต้น ปลาอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ลึกลงไปเกือบถึงพื้นสมุทร ซึ่งลึกประมาณ 2,000 เมตร เช่น ปลาคอด เป็นต้น




ในส่วนชั้นสองจัดแสดงเดงเป็นนิทรรศการ ดังนี้

               ส่วนแรก  จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง


        1. นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล  โดย   ให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล  สัตว์จำพวกหนอนทะเล สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล  สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล สัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ  และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เป็นต้น 
        2.  นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น 
        3. นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
        4. ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น

ที่มา http://www.bims.buu.ac.th



ความประทับใจ
  " ในการทัศนศึกษาครั้งนี้ เป็นการทัศนศึกษาครั้งที่สองในชีวิตที่ได้มาเยือนที่นี่  ซึ่งผมรู้สึกประทับใจทุกครั้งที่ได้มา ครั้งแรกผมได้มาที่นี่ตอน ป 1 ส่วนมาครั้งนี้ผมได้มาอยู่ที่นี่เลย โดยก่อนที่จะมาทัศนศึกษาในครั้งนี้ ผมมีหน้าที่เป็นผู้กล่าวคำขอบคุณวิทยากร รู้สึกตื้นเต้นมาก เพราะไม่เคยทำหน้าที่นี้ และตื่นเต้นมากที่จะได้มาทัศนศึกษานอกสถานที่ และรู้สึกภูมิใจ เพราะสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นที่เดียวในประเทศที่มี เป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับมหาวิทยาลัยบูรพาอย่างยิ่ง แล้วการทัศนศึกษาในครั้งนี้ได้สาระความรู้อะไรกลับไปเยอะ เป็นการทัศนศึกษาที่แท้จริง และหวังว่ารุ่นต่อๆไป คงจะได้มาทำกิจกรรมเช่นนี้อีก" 



วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 18 วิทยุเพื่่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ สำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา



วิทยุเพื่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ  สำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา


ความเป็นมา
           สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำโครงการพระราชดำริเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นทุรกันดารมานานเกือบ 30 ปี ทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย การส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม      สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้ปฏิบัติงานโครงการพระราชดำริสนองพระเดชพระคุณมาตลอดตั้งแต่ระยะต้นๆ ในด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้      โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการอาชีวศึกษา ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายการศึกษาและเผยแพร่ความรู้วิชาการต่างๆให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   จึงได้ร่วมกันทำโครงการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ R-Radio โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้น้อมเกล้าฯถวายเวลาออกอากาศรายการวิทยุ R-Radio จำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ เ พื่อใช้ในการเผยแพร่พระราชกรณียกิจและโครงการพระราชดำริ รวมทั้งความรู้ทั่วไป 
                    
                                                                                                                                     
วัตถุประสงค์

           1.  เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจ  ข่าวสารโครงการพระราชดำริ
           2.  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกล  ทุรกันดารและด้อยโอกาส
           3   เพื่อเผยแพร่ข่าวสารความรู้ด้านสังคม  เศรษฐกิจ   การประกอบอาชีพ  ภูมิปัญญา ท้องถิ่น  ICT  วัฒนธรรมของชาติและสาระบันเทิง  อันเป็นประโยชน์ของประชาชน
           4. เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน  สำหรับการเรียนรู้ของนักศึกษาอาชีวะ
           5. เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารเหตุการณ์กรณีฉุกเฉิน  อุบัติภัย ศูนย์แจ้งเหตุ (Call Center) โดยเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆ 
                                
กลุ่มเป้าหมาย
           1. ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดารและด้อยโอกาส
           2. ประชาชนผู้สนใจทั่วไป
           3. นักเรียน  นักศึกษาอาชีวะ
 พื้นที่ดำเนินการ
            สถานีวิทยุเครือข่าย  23 แห่งทั่วประเทศ
แนวทางการดำเนินงาน
            1. พัฒนาการกระจายเสียงทางวิทยุให้ได้มาตรฐานของกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี
            2. เป็นสื่อการเรียนการสอนนักศึกษาอาชีวะ            3. เป็นเครื่องมือพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชน 







ที่มา www.r-radionetwork.net 

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 17 อุทยานการเรียนรู้ TK park



                   ถ้าจะมีเวทมนตร์ใดๆ ที่ทำให้กลับกลายเป็นเด็กขึ้นมาได้ ฉันเชื่อว่าหนึ่งในเวทมนตร์บทนั้นต้องเริ่มต้นด้วยถ้อยคำ “TK park”
            “อุทยานการเรียนรู้ TK park มิใช่สถานที่ธรรมดาๆ”
            ประโยคนี้มักปรากฏขึ้นในใจฉันทุกครั้ง เมื่อเหยียบย่างเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้
            การค้นพบสิ่งใหม่ๆ อันน่าตื่นตาตื่นใจดูเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว สำหรับดินแดนมหัศจรรย์ที่พร้อมร่ายมนตร์สะกดให้ผู้คนหลงใหลไปกับโลกของหนังสือ เสียงเพลง สื่อมัลติมีเดีย และกิจกรรมแสนสนุกอีกมากมาย
            ด้วยจุดเริ่มต้นจากความต้องการที่จะสร้างทัศนะในการอ่านที่ดีให้กับเด็กๆ ผ่านพ้นการพัฒนา กระทั้งเพิ่มพูนกลายมาเป็นแหล่ง
เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ขนาดใหญ่  
            เวทมนตร์ของ TK park ยังคงไม่หยุดยั้งที่จะส่งพรวิเศษต่อผู้ที่มาเยือน เพื่อให้พวกเขาได้สัมผัสถึงความประทับใจทั้งเด็กและ
ผู้ใหญ่ ซึ่งพร้อมจะเปิดมุมมองแสวงหาสิ่งที่แปลกใหม่อันเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม
            เสมือนการได้รับเวทมนตร์ย้อนเวลากลับไปเป็นเด็ก ที่เพิ่งเริ่มต้นหัดเรียนรู้โลกกว้าง
            นับตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าสู่อุทยานการเรียนรู้ TK park…
            ชั้นที่บรรจุหนังสือหลายหลายแนว คือ เวทย์มนตร์ประทับใจบทแรกที่ฉันได้รับ
            ไม่ว่าจะเป็นตำราเรียนซึ่งอัดแน่นด้วยข้อมูลเชิงลึก หนังสือสารคดีเบาๆ คู่ไอเดียสร้างสรรค์ หรือแม้กระทั้งหนังสือการ์ตูนที่ช่วยเปิดโลกจินตนาการให้กว้างขึ้น ต่างก็เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบชนิดไม่หวงพื้นที่
            เก้าอี้นั่งมุมเล็กๆ บุนวมกลายเป็นสถานที่พักผ่อนยามว่างของทั้งบรรดาเด็กๆ รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่ซึ่งต่างก็ช่วยกันพลิกหน้าหนังสือ จนกลายเป็นภาพน่ารักๆ ของการแสวงหาความรู้คู่กับความผูกพันในครอบครัว
            หากแต่ ความ “เพลินตา” ที่ TK park ร่ายคาถาใส่อาจต้องมาประชันกับความ “เพลินหู” ที่มาจากห้องกิจกรรมดนตรีซึ่งจัดขึ้น
อย่างมีคุณภาพ
            ด้วยคอนเสิร์ตแบบป๊อป แจ๊ส ร๊อคจากศิลปินทั้งไทยและเทศมากฝีมือ นับตั้งแต่เมโลดี้เบาสบาย กระทั้งโยกย้ายอย่างสุดสนุกตามจังหวะของนักดนตรีในแต่ละสัปดาห์ โดยเฉพาะท้ายรายการที่มีของแถมสำคัญ คือการสัมภาษณ์ศิลปินที่ชื่นชอบชนิดตัวต่อตัว ก็สามารถสะกดให้ผู้คนเอียงหูคอยฟังเพลงที่ตนชื่นชอบอย่างสบายใจ
            โลกแห่งเสียงเพลงจึงเป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ของดินแดน TK park ทว่าความบันเทิงที่มาพร้อมกับความรู้ยังไม่หมดอยู่แค่นั้น
            คาถาทั้ง “เพลินหู” และ “เพลินตา” ยังถูกร่ายมาในรูปแบบของภาพยนตร์ ซึ่งคัดสรรฉายเรื่องราวที่ดีและดังบนแผ่นฟิล์ม พร้อมกับการวิเคราะห์เจาะลึกจากผู้กับหรือนักวิจารณ์ ผู้คอยจุดประเด็นข้อคิดในตัวภาพยนตร์ที่ทำให้เรารับรู้ความเป็นไปได้อย่างลึกซึ้ง รวมทั้งการแสดงละครเวทีต่างๆ ที่ใช้ TK park เป็นโรงละครขนาดย่อมก็สามารถเรียกคนดูให้เพลิดเพลินไปกับทั้งศาสตร์และศิลป์ของละครอย่างมีคุณภาพ
            นอกจากเวทย์มนตร์อันน่าตื่นตาซึ่งร่ายตรงไปยังผู้ที่ก้าวเข้ามาแล้ว อุทยานการเรียนรู้ TK park ยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสนามประลองความสามารถของการแข่งขันหลากหลายทักษะ
            ทั้งการประกวดเล่านิทาน การประกวดงานเขียน หรือการฝึกอบรมของสาขาวิชาชีพอื่นๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะช่วย
ผลักดันให้ผู้เข้าร่วมมีกำลังใจ และก้าวไปคว้าความฝันของตัวเอง
            พื้นที่แห่งนี้ยังเปิดต้อนรับให้เยาวชนแสดงพลังของตนอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเดี่ยวหรือกลุ่ม คาถาของ TK park ก็ล้วนโอบล้อมความกล้าและท้าทาย เพื่อจุดไฟในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ รวมทั้งกลายมาเป็นสถานที่พบปะเพื่อนฝูงผู้ชื่นชอบทัศนะแบบเดียวกัน หรือกระทั้งการได้พูดคุยกับบุคคลสำคัญที่เราอยากรู้จัก ที่จะเกิดขึ้นหมุนเวียนสับเปลี่ยนตามกิจกรรม ซึ่งต่างก็สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนมากยิ่งขึ้น
            อุทยานการเรียนรู้ TK park จึงนับเป็นสถานที่พิเศษซึ่งทำให้ฉันสนุกไปกับมุมมองแปลกใหม่ และเปิดจินตนาการให้กับเด็กๆ โดยไม่ลืมที่จะเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว
            ด้วยเรื่องราวทั้งหมด ความมหัศจรรย์ในโลกของ TK park สำหรับฉันจึงเต็มไปด้วยสิ่งที่คาดไม่ถึง แต่กระนั้นที่รู้แน่ชัดเพียงอย่างเดียวก็คือ
            “หากเปิดประตูเข้าสู่ดินแดนนี้ ฉันจะต้องได้อะไรกลับไปมากกว่าที่คิด”
            โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความประทับใจจากความช่วยเหลือของพี่ๆ ทีมงานใจดีซึ่งคอยให้บริการสอบถามข้อมูลด้วยความยิ้มแย้มอย่างเป็นมิตร ฉันจึงเชื่อว่า TK park พร้อมจะก้าวไปข้างหน้าแม้จะต้องเจอกับอุปสรรคใดๆ แต่กำลังใจที่มีให้ก็ยังเปี่ยมล้นจากผู้คนที่ผูกพันอยู่เสมอ
            จึงไม่น่าแปลกนักที่ทุกๆ ครั้งบรรยากาศแห่งมนตร์ขลังอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ของความสนุกสนานคู่กับความรู้ จะยังคงอบอวลอยู่ในทุกขณะ เพียงเท่านี้ ฉันก็พร้อมหลับตายิ้มรับกับพรวิเศษที่จะทำให้กลับกลายเป็นเด็กอีกครั้ง
            เพื่อก้าวเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ของอุทยานการเรียนรู้ TK park


การออกแบบห้องสมุดที่น่าสนใจ


ชั้นอ่านหนังสือรังผึ้ง

ที่มา: www.tkpark.or.th

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 16 สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ Educational Television, Ministry of Education(ETV)

ความเป็นมา :  ในปี พ.ศ. 2536 มีการส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารแห่งชาติ ดวงแรกของประเทศไทยขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดเอเรี่ยน4ของ
บริษัทเอเรี่ยนสเปซประเทศฝรั่งเศสดาวเทียมดวงนี้ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯว่า"ไทยคม"โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการกระจายข่าวสารข้อมูลในด้านต่างๆรวมทั้งช่วยในการพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลโดยการนำความรู้และกระบวนการจัดการเรียนการสอน ไปถึงตัวผู้เรียนโดยตรงเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างทั่วถึง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการทดลองจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อเป็นการขยายโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับ มาตรฐานการศึกษา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2537 โดยให้เป็นโครงการทดลองในระยะ 5 ปี (8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 7 มิถุนายน 2542) และเริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2537 ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธการได้มอบหมายให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน
หรือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบันรับผิดชอบโครงการทดลองดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไทยคมในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. จัดหาช่องสัญญาณ 1 ช่อง สัญญาณโทรทัศน์ ในความถี่ย่าน Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม เพื่อการ
ถ่ายทอดรายการ โทรทัศน์ และการให้ข่าวสารทาง เทเลเท็กซ์ (Teletext) เพื่อใช้ประโยชน์ทางการ
ศึกษาเป็นประจำทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมูลนิธิไทยคมเป็นผู้รับภาระ ค่าเช่าช่องสัญญาณตลอดช่วง
โครงการทดลอง

2. จัดหาอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งจานรับสัญญาณ (Dish)ติดตั้งในสถานศึกษาและศูนย์การเรียน
กระจาย ไปทั่วประเทศ

 3. ให้ความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้การศึกษา 2 ทาง (Interactive and Two-way Communication) ในอนาคต  




เว็บไซต์ : http://www.etvthai.tv/

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 15 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม



สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม หรือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้การบริหารของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด  จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเรียกขานตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์ว่า HS1-TV มีที่ทำการตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นที่มาของชื่อสถานีฯ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 มีที่มาเริ่มแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 เมื่อนายสรรพสิริ วิรยศิริ ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เขียนบทความลงในหนังสือเล่มหนึ่ง เผยแพร่เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใหม่ในขณะนั้น โดยให้ชื่อบทความว่า "วิทยุภาพ" ต่อมา ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2492-2493 หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็แสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล ถึงการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ว่า "ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมี เทเลวิชัน" จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงสั่งการให้กรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยมีมติให้จัดตั้ง สถานีวิทยุโทรภาพ และตั้งงบประมาณขึ้น ในปีถัดมา (พ.ศ. 2494) แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระยะแรกเริ่ม จึงต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวไปโดยปริยาย เนื่องจากเสียงส่วนมาก ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ไปโดยเปล่าประโยชน์
อนึ่ง นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการ บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งโทรภาพ 1 เครื่อง และเครื่องรับ 4 เครื่อง น้ำหนักรวมกว่า 2 ตัน ทำการทดลองออกอากาศ ให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรก ที่ทำเนียบรัฐบาล และเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ก็เปิดฉายให้ประชาชนรับชม ที่ศาลาเฉลิมกรุง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยสมัยนั้น ใช้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ในการถ่ายทอดการปราศรัยของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี, เผยแพร่ผลงานของรัฐบาล, ถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา ตลอดจนถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. 2500 แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงส่งผลให้กองทัพบก โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น สั่งการให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาว-ดำ หรือปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ในระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501
ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม  คือ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์


ที่มา www.wikipedia.org