วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 2 ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน

วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา

-เทคโนโลยี คือ การนำความรู้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสู่การประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของอุปกรณ์เครื่องมือ แนวคิด เทคนิควิธีการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
-ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา การนำความรู้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสู่การประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของอุปกรณ์เครื่องมือ แนวคิด เทคนิควิธีการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
-ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.  Design คือ การออกแบบ
2. Development คือ การพัฒนา
3. Utilization คือ การใช้
4. Management คือ การจัดการ
5. Evaluation คือ การประเมิน
-พัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษา
แนวคิดแรก   เป็นแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ 
แนวคิดที่สอง  เป็นแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์
แนวคิดที่สาม เริ่มพัฒนาและให้ความสนใจในเรื่องการเรียนการสอนรายบุคคลเป็นลักษณะบทเรียนต่างๆ
-ภาระงานของเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริหาร 
เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือทางวิชาการ
เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นเครื่องมือบริการทางวิชาการ
-หลักและแนวคิดวิธีระบบ
 ระบบ คือ ภาพรวมของหน่วยสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เป็นอิสระแต่มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน


ลักษณะของระบบที่ดี
1.             มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interact with environment)
2.             มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย (Purpose)
3.             มีการรักษาสภาพตนเอง (Self-regulation)
4.             มีการแก้ไขตนเอง (Self-correction)
ระบบเปิด คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า (Input)       จากสิ่งแวดล้อมและขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต (Output) กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ
ระบบปิด คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต (Output) ให้กับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เช่น ระบบไฟฉาย ระบบแบตเตอร์รี่ ฯลฯ

             การคิดอย่างมีระบบ คือ การพิจารณาปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องระหว่าง    การดำเนินงานและองค์ประกอบทั้งหลายในระบบมิใช่มองเพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น

วิธีระบบ คือ เป็นการวางแผนระบบใหม่หรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้นหลังการวิเคราะห์ระบบแล้วโดยกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม จัดวางปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภารกิจ ปฏิสัมพันธ์ ปัจจัยเกื้อหนุน และการประเมินเพื่อประสิทธิภาพของงาน

กระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีระบบ
1. กำหนดปัญหา
2. กำหนดขอบข่ายของปัญหา
3. วิเคราะห์ปัญหา
4. กำหนดแนวทางแก้ปัญหา
5. การเลือกแนวทางแก้ปัญหา 
6. วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา 
7. นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย 
8. ควบคุมตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข

การพัฒนาระบบ
1. กำหนดภาพรวม สร้างภาพขึ้นในสมอง
2. รวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. กำหนดคุณลักษณะ ความสามารถของระบบ (อยากให้ระบบทำอะไรได้บ้าง)
4. ศึกษา กำหนดองค์ประกอบต่างๆ
5. กำหนดหน้าที่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
6. กำหนดกลไกการทำงาน กลไกการควบคุมเพื่อให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย  
7. ศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อการใช้ระบบ

กรอบแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาการสอน
  จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใคร              (วิเคราะห์ผู้เรียน)
 ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียน)
ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชา/ทักษะต่าง ๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร (กำหนดวิธีสอนและกิจกรรมการเรียน)
จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ (กระบวนการประเมิน)



นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่

ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
1  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน
หลักการและทฤษฎีการสื่อสาร
การสื่อสาร คือ เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ  ผ่านสื่อ  ช่องทาง
ความสำคัญของการสื่อสาร มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social  Animals) จำเป็นต้องมีการสื่อสารเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

ลักษณะของการสื่อสาร
1. วิธีการสื่อสาร
                1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา (Oral Communication)
                1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Communication)
                1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือ การเห็น (Visual Communication)
2. วิธีการสื่อสาร
                1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา (Oral Communication)
                1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Communication)
                1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือ การเห็น (Visual Communication)
3. ประเภทของการสื่อสาร
                3.1 การสื่อสารในตนเอง (Self- Communication)
                3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Intrapersonal  Communication)
                3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small group Communication)
                3.4 การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)
                3.5 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งสาร (Source)
2. สาร (Message)
3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel)
4. ผู้รับ (Receiver)
5. ผล (Effect)
6. ผลย้อนกลับ (Feedback)
อุปสรรค์ของการสื่อสาร
1. คำพูด (Verbalisn)
2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)
4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
6. การไม่ยอมรับ (Inperception)

 อ้างอิงจาก e-Learning  วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา รหัส 400202 โดย ว่าที่เรือตรี ดร.อุทิศ บำรุงชีพ  
วีดีโอจากกลุ่ม "ฮัดช่า โปรดักชั่น"นิสิตภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์                               มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ                        

บันทึกครั้งที่ 1 “Educational Technology My Dream”

“Educational Technology My Dream” 
     วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นวิชาที่ผมสนใจเรียนรองจากวิชาการสอนสังคมฯ ผมชอบจัดทำสื่่อเล่นๆ ง่ายๆ ในเวลาว่าง เมื่อตอนถึงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับ มัธยมปลาย ผมก็ได้เรียนเกี่ยวกับ การเขียนเว็บไซด์ด้วยภาษา HTML   เป็นการเริ่มต้น โดยการสอนของพี่สาวของผม ที่จบปริญญามาจากรั้วพระจอมเกล้าธนบุรีฯ และแล้วผมก็ได้มาเรียนต่อในเนื้อหาที่เข้มขึ้น ในการเรียนเขียนเว็บไซด์ด้วยโปรแกรม Dreamweaver ครูที่สอนใช้วิธีการสอนแบบให้เด็กไปค้นคว้าเอง และ เนื่องจากบ้านของผมมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้ได้เปรียบกว่าเพื่อนๆบางคนที่ไม่มี เมื่องานของตัวเองเสร็จแล้วก็มาช่วยเพื่อน เพื่อนก็ไม่รู้จะตอบแทนอย่างไร จึงให้เงินบ้าง เพื่อนบางคนทำไม่เป็นก็เลยมาจ้างผมทำ ในเทอมนั้นผมได้รายได้ เกือบ 500 บาท แต่ 500 บาทนั้นไม่มีค่าแรง มีแต่ค่าอุปกรณ์ที่ผมเสียให้เพื่อน ผมก็มาคิดอีกทีว่า " ถ้าผมเป็นครู อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก" เมื่อมาถึงตอน ม.6 ครูท่านเดิมได้ให้โครงงาน E-book มีเพื่อนมาจ้างผมทำหลายคน ผมปฎิเสธเพื่อนๆ เพราะเหนื่อยที่จะทำให้เพื่อนๆแล้ว ถึงผมจะมีที่เรียนแล้ว แต่ผมก็อยากให้เพื่อนๆมีความรู้เมื่อจบไป ในเทอมนี้ได้บอกเพื่อนๆว่า " ผมจะไม่ทำให้ใคร แต่ผมจะสอนเพื่อนทำให้เป็น" ผมหาเวลานัดกับเพื่อนแล้วสอนตัวต่อตัวให้เพื่อนเข้าใจ ผมรู้สึกภูมิใจมาก แต่สิ่งที่ได้ก็คือผมรู้ถึงความทุ่มแทของครู ที่ต้องเสียเวลา ตื่นแต่เช้า รอนักเรียน มาเรียน สอนจนกว่านักเรียนจะได้ กลับบ้านหลังนักเรียนอีกด้วย และ ไม่ได้รับค่าตอบแทนอะไรเลย  ผมภูมิใจมากที่จะได้เรียนครู ทำให้ผมมีความหวังมากขึ้น  จะถามว่า อะไรคือแรงจูงในการที่ทำให้ผมสนใจวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษานี้ ผมก็ตอบว่า ในความคิดของผม ผมอยากให้มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นในการเรียนการสอนของประเทศไทย  อยากให้นักเรียนได้มีความสะดวกสะบายในการเรียนมากขึ้น ผมชอบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมมากเลยครับ ผมสำนึกในพระมหากรุณาทิคุณของในหลวงมาก และชื่นชมในพระราชดำริของท่าน ที่ทำให้นักเรียนในทุรกันดาร ได้เรียนอย่างมีคุณภาพเทียบเท่า กับนักเรียนในเมือง ทำให้ผมอยากจะเป็นครูและจัดการเรียนการสอนที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนเช่นพระองค์ท่าน