วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 25 ประเภทของธนาคาร จัดทำโดยใช้โปรแกรม MindjetMindManager pro 6


ประเภทของธนาคาร
1   ธนาคารพาณิชย์
1.1   หน้าที่
1.1.1 ฝากเงิน กู้ยืม และบริการอื่นๆ เช่นชำระเงิน
1.2   ประเภทธนาคารพาณิชย์
1.2.1 ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารทหารไทย
1.2.2 ธนาคารเอกชนของประเทศไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธนาคารนครหลวงไทย
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกสิกรไทย
ฯลฯ
1.2.3 ธนาคารเอกชนของต่างประเทศ
ธนาคารเอชเอสบีซี
ธนาคารซิตี้แบงค์
ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต
ฯลฯ
2   ธนาคารพิเศษของรัฐ
2.1   หน้าที่
2.1.1 คล้ายกับธนาคารพาณิชย์ แต่จะมีหน้าที่พิเศษเพิ่ม
2.2   เช่น
2.2.1 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  หน้าที่
ช่วยเหลือทางการเงินให้กับประชาชน ได้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่อัตภาพ
2.2.2 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
  หน้าที่
สนับสนุนการลงทุนสำหรับนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ 
2.2.3 ธนาคารพัฒนารัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
  หน้าที่
พัฒนา ส่งเสริม ช่วยเหลือ และสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงาน การขยาย หรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.2.4 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  หน้าที่
ให้บริการสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม
2.2.5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
  หน้าที่
มุ่งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือการดำเนินงานของเกษตรกร
2.2.6 ธนาคารออมสิน
  หน้าที่
เน้นให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย
3   ธนาคารกลาง
3.1   ธนาคารแห่งประเทศไทย
3.1.1   หน้าที่
ออกธนบัตร
ควบคุมปริมาณเงินในระบบ
รักษาเถียรภาพของเงิน
ควบคุมสถาบันการเงิน
ดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตรา
รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ
เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับรัฐบาล

จัดทำโดยใช้โปรแกรม MindjetMindManager pro 6 

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 23 บทเรียนการเกษตรทฤษฎีใหม่

บทเรียนการเกษตรทฤษฎีใหม่ ( แก้ไขเพิ่มเติม)


หลักการสร้างวีดิทัศน์ สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การเกษตรทฤษฎีใหม่
 Input                    ผู้เรียนได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
                              กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                             
Process               1. วางแผนการผลิต  โดยศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้และหลักสูตร 
                              จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้
                              สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                              2. การถ่ายทำ รวบรวมข้อมูลและรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ 
                              หาเพลงประกอบในการผลิตวีดีทัศน์ และวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

                              3. ขั้นหลังการถ่ายทำ  ลำดับภาพและเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีทำขวัญข้าว 
                              และทดลองนำเสนอผ่าน Weblog รวมทั้งให้ที่ปรึกษาได้ตรวจสอบ    

Output  บทเรียนวีดีทัศน์เพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่


Feedback   ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหา ให้ผลตอบกลับที่เป็นความคิดสร้างสรรค์
                       สามารถนำ ความรู้ไปใช้ตีความโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 21 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ


หอจดหมายเหตุแห่งชาติ


                             งานจดหมายเหตุ ของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาสืบย้อนขึ้นไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย โดยอาศัยตามข้อทรงสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า "เรื่องจดหมายเหตุมีธรรมเนียมเก่าเป็นหน้าที่ของมหาดเล็กจะต้องจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เก็บไว้ในหอศาสตราคม และงานจดหมายเหตุในราชสำนักก็ยังเป็นประเพณีสืบต่อมาหลายสมัย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานเรื่องการจัดงบประมาณกรมพระอาลักษณ์ เมื่อ ร.ศ. 115 ขอรับพระราชทานยกการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันรวมกับราชกิจจานุเบกษายกเป็นกองจดหมายเหตุ ใน ร.ศ.118 ปรากฏหลักฐานประกาศตั้งตำแหน่งข้าราชการกรมรัฐมนตรีและกรมพระอาลักษณ์ มีหลวงนรราชจำนงดำรงตำแหน่งปลัดกรม ยังคงปรากฏมีกองจดหมายเหตุอยู่" ส่วนหอจดหมายเหตุ ในความหมายที่เป็นหน่วยงานเก็บเอกสารไว้เป็นเอกสารจดหมายเหตุ ตรงกับคำว่า ARCHIVESของภาษาอังกฤษ มิใช่เพียงแต่หมายถึงการจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่เกิดขึ้นแล้วเก็บไว้นั้นเริ่มในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชการเป็นอย่างยิ่งและมีพระราชกระแสให้นำเอกสารสำคัญไปเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุ ดังตัวอย่างพระราชกระแสที่จะอัญเชิญต่อไปนี้ "เรื่องตราเป็นอันได้ความถูกต้องตามที่พระยามหาอำมาตยแจ้งความ แต่มีความเสียใจที่เปนตราแกะใหม่ทั้ง 2 ดวงรุ่นเดียวกันกับนารายน์ทรงราหูตราเก่าเป็นจะหายหกตกหล่นเพราะเจ้าแผ่นดินไม่ได้อยู่ติดเมืองสักคนหนึ่งศุภอักษรนี้อ่านคันใจเต็มที เพราะเจ้าใจโดยมาก ด้วยเป็นคำมคธคำไทยเจืออยู่แต่คำเขมรไม่เข้าใจเลย ขอให้ล่ามเขมรเขียนอักษรขอมบรรทัดหนึ่ง อักษรไทยอ่านเปนสำเนียงเขมรบรรทัดหนึ่ง คำแปลภาษาเขมรเขียนลงไว้ใต้คำเขมรที่เขียนอักษรไทย หนังสือชนิดนี้ควรจะเข้าอาไคฟ ขอให้เก็บให้จงดี"
image


การดำเนินงานจดหมายเหตุในระยะแรกมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นแผนกจดหมายเหตุอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ มีเอกสาร 2 ประเภท คือ เอกสารจดหมายเหตุในอดีตได้มาจากหนังสือที่หอพระสมุดวชิรญาณมีอยู่เดิม ส่วนที่หาเพิ่มได้มาจากหนังสือท้องตราและใบบอกราชการหัวเมืองตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขึ้นไป ขอจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่าง ๆ ส่วนเอกสารจดหมายเหตุในปัจจุบันให้กระทรวงต่าง ๆ ส่งบรรดาคำสั่ง ข้อบังคับ หรือรายงานที่กระทรวงนั้น ๆ จัดพิมพ์ขี้นมาให้หอพระสมุดวชิรญาณเก็บรักษาไว้ ท่านตรัสว่า "เราหาหนังสือหลักฐานทางราชการในสมัยก่อน ๆ ลำบากอยู่แล้ว ฉะนั้น
image


ถ้าเริ่มต้นเสียแต่บัดนี้ ในเวลาอีก 100-200 ปี เด็ก ๆ จะแต่งหนังสือเรื่องอะไรก็จะหาหลักฐานได้จากหอนี้ ไม่ต้องลำบากเหมือนคนชั้นพ่อ" ข้าพเจ้าทูลถามว่า "จะเอาหนังสือมาจากไหน" ท่านตอบว่า "สั่งไปตามกระทรวงว่าหนังสืออะไรที่พ้น 25 ปี แล้วให้ส่งเข้าหอนี้ เราจ้างเด็กผู้หญิง (เพราะรายจ่ายต่ำด้วยไม่ใช่หัวหน้าครอบครัว) ด้วยเงินเดือนน้อย มาเป็นผู้เลือกปี เลือกเรื่อง เข้าแฟ้ม เรื่อยไป ในไม่ช้าเราก็จะได้เรื่องติดต่อกันมาเป็นหลักฐาน" นอกจากนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ผู้ทรงสนพระทัยการศึกษาค้นคว้าวิจัยได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชการว่า จะเป็นเอกสารข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทรงห่วงใยว่าเอกสารเหล่านี้จะสูญหาย จึงทรงดำริจัดตั้งหอจดหมายเหตุและหอรูปขึ้น เพื่อเก็บรักษาเอกสารที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า ดังปรากฏในพระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิสกุลว่า งานจดหมายเหตุเป็นที่ยอมรับในความสำคัญ จึงจัดตั้งหน่วยงานขึ้นรับผิดชอบดำเนินการโดยเฉพาะ เมื่อมีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมศิลปากร ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ตั้งกองจดหมายเหตุแห่งชาติขึ้น การดำเนินงานจดหมายเหตุได้พัฒนาและขยายขอบข่ายการปฏิบัติงานออกไปอย่างกว้างขวาง มีการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้ทันสมัย เพื่อก้าวไปสู่การดำเนินงานที่ตรงตามมาตรฐานวิชาการจดหมายเหตุสากล พร้อมทั้งรับหอภาพยนตร์แห่งชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2530 รวมทั้งขยายเครือข่ายหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบัน จากนโยบายการปฏิรูประบบราชการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม มีอัตรากำลัง เป็นข้าราชการ 81 คน ลูกจ้างประจำ 36 คน ลูกจ้างชั่วคราว 52 คน
ที่มา www.nat.go.th

บันทึกครั้งที่ 20 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

                ในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ล้นเกล้าฯ ทรงมีต่อพสกนิกรและประเทศชาติโดยเฉพาะที่ทรงเป็นผู้นำในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตลอดจนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทยในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกลมาอย่างต่อเนื่องด้วยความวิริยะ อุตสาหะจนบังเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน เป็นที่ชื่นชมยกย่องของปวงชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านดังกล่าว ได้กระตุ้น และชักนำให้สังคมไทยตื่นตัวในด้านการศึกษาวิจัย พัฒนา ใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีดั้งเดิมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาอาชีพ อันส่งผลต่อการยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน และการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ดำเนินโครงการ “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ต่อมาในปี ๒๕๓๘ คณะรัฐมนตรีได้จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัด กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นหน่วยงานบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ดังกล่าว

         องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้ดำเนินการพัฒนา “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” ซึ่งตั้งอยู่ ณ เทคโนธานี ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มาจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ทรงพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา
        
         อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ได้รับการออกแบบและก่อสร้างใน  รูปทรงเรขาคณิตที่น่าทึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการก่อสร้างอันเป็น จุดดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นตัวอาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีขนาด 20*20*20 เมตรวางพิงกันเพื่อพยุงและเฉลี่ยการรับน้ำหนักของกันและกัน ทำให้เกิดความสมดุลในการทรงตัวโดยมีรากฐานในการรับน้ำหนักของตึกตรงบริเวณมุมแหลมของรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ทั้ง 3 ลูกโดยจุดรับน้ำหนักแต่ละจุดสามารถรับน้ำหนักได้ถีง 200 ตันโครงสร้างทั้งหมดประกอบด้วยโครงเหล็กเพื่อเสริมด้านความแข็งแรงของอาคารโดยเฉพาะ ในส่วนของลูกบาศก์มีโครงสร้างเป็นโครงเหล็กถักแบ่งเป็น 6 ชั้น มีความสูงประมาณ 45 เมตร หรือเท่ากับอาคาร 12 ชั้นมีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการภายใน ประมาณ10000ตารางเมตรนอกจากนั้นผนังภายนอกอาคารยังกรุด้วยแผ่นเหล็กเคลือบเซรามิค (Ceramic steel)ซึ่งมีลักษณะผิวภายนอกที่ดูแลรักษาได้ง่ายและไม่ต้องทาสีตลอด อายุการใช้งานประกอบกับลักษณะพื้นผิวที่สะท้อนแสงและการติดตั้งที่มีความลาดเอียง จึงสะท้อนความร้อนได้มากช่วยให้ประหยัดพลังงานในการปรับอุณหภูมิภายในได้เป็นอย่าง ดีภายในอาคารมีการติดตั้งระบบควบคุม อุณหภูมิระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้มาตรฐาน ทั้งระบบตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) และระบบฉีดน้ำอัตโนมัติ(Sprinkle)ตลอดจนมีการจัดระบบการอำนวยความสะดวกในการเดินชมนิทรรศการภายในอาคารทั้งสำหรับผู้ชมทั่วไปและผู้ทุพลภาพจึงนับได้ว่านอกจากจะเป็นอาคารที่มีรูปทรงดึงดูดใจแล้วยังเป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยอีกด้วย


ที่มา www.nsm.or.th


วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554






E-learning คืออะไร
          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology)ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้





ประโยชน์ของ e-Learning
  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
              การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
     
  • เข้าถึงได้ง่าย
              ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
     
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
              เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
     
  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
              ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม




    ที่มา www.thaiedunet.com/ten_content/what_elearn.html