วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 9 " การแบ่งประเภทสื่อการสอน 400202 Educational Technology "

สื่อการสอน (Instructional  Media)            
หมายถึงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ความคิดและทักษะต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน 
ประเภทสื่อการสอน
Percival  and  Ellington(1984)  และ  De  Kieffer  (1965)  ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท
1.             สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
2.             สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)
3.             สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
                1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ
                2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์
                3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 
                สื่อการสอนประเภทวัสดุ  (Software  or  Material)
                                -  เป็นสิ่งที่ได้รับบรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่าง ๆ
                สื่อการสอนอุปกรณ์  (Hardware)
                                -  เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล  ความรู้  หรือสาระ  ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา   
                สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ(Techniques  and  Methods)
                                สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด  รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  หรือเทคนิค  ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์  แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้
สื่อการสอน  แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale
1.             ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย  (Direct  or  Purposeful  Experiences) 
                                เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้  เรียนรู้ด้วยตนเอง  ลงมือปฏิบัติ  เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  เช่น  การฝึกทำอาหาร  การทดลองต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโปรเจคเตอร์
               
      2.    ประสบการณ์จำลอง  (Contrived  experience)
                                เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง  อาจเป็นสิ่งของจำลอง  หรือสถานการณ์จำลอง  เช่น  การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง  Flight  Simulator
3.             ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง  (Dramatized  Experience)
                                เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์  ในการแสดงบทบาทสมมุติ  หรือการแสดงละคร  นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา
4.             การสาธิต  (Demonstration)
                                เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย  เพื่อให้เห้นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ  เช่นการสาธิตอาบน้ำเด็กแรกเกิด
5.             การศึกษานอกสถานที่  (Field  Trip)
                                เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว  หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ  ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
6.             นิทรรศการ  (Exhibits)
                                เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่าง  ๆที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ  หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้านนิเทศ
7.             โทรทัศน์  (Television)
                                เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ  เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน  เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน  ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด  ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์  หรือเป็นรายการสดก็ได้  การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8.             ภาพยนตร์  (Motion  Picture)
                                เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว  มีเสียงประกอบ  และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม  มาเป็นสื่อในการสอน  ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง  หรือจากภาพ
         9.  ภาพนิ่ง  วิทยุ  และแผ่นเสียง  (Recording, Radio, and  Still  Picture)
                                เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง  วิทยุ  หรือเทปบันทึกเสียง  เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว  เช่น  สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ  สไลด์  หรือภาพวาด  ภาพล้อ  หรือภาพเหมือนจริง  ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง  ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้  ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก  ก็สามารถเข้าใจใจเนื้อหาบทเรียนได้  เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10.      ทัศนสัญญลักษณ์  (Visual  Symbols)
                                วัสดุกราฟิกทุกประเภท  เช่น  แผนที่  แผนภูมิ  แผนสถิติ  แผนภาพ  การ์ตูนเรื่อง  หรือสัญญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย  การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อเป็นอย่างดี  เนื้อหาจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญญลักษณ์  หรืองานกราฟิก  ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย
11.      วจนสัญญลักษณ์  (Verbal  Symbol)
                                เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด  คำบรรยาย  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  หรือสัญญลักษณ์พิเศษต่าง  ๆที่ใช้ในภาษาการเขียน  ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้  จัดว่าประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด


 รูปที่ 1  ภาพกรวยประสบการณ์ของ Edgar  Dale


นิสิตแสดงความเห็นดังนี้
1.มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่าเป็น  สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
ตอบ  ข้าพเจ้ามีความคิดเห็น คือ สื่อการสอนทุกชนิด เป็นสิ่งของที่มีค่า มีประโยชน์แก่การส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นสิ่งที่ถูกสร้างสรรค์มาแล้ว  แต่ถ้าสื่อการสอนนั้นไม่มีความคงทน หรือเกิดการชำรุด ไม่สะดวกในการใช้ในยุคปัจจุบัน และ ซ่อมแซมไม่ได้ ไม่สามารถใช้การได้แล้ว สื่อการสอนนั้นก็อาจจะเป็นสือวัสดุสิ้นเปลือง เพราะฉะนั้นแล้วสื่อการสอนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ควรจะใช้ให้มีคุณค่า ให้คุ้มค่าที่สุด ก่อนที่จะใช้การไม่ได้อีก 
กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ
ตอบ กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม มี 10 ประเภทดังนี้
1.              ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย                   7.  โทรทัศน์
2.              ประสบการณ์จำลอง                                          8. ภาพยนตร์
3.              ประสบการณ์นาฏการ                                        9.  ภาพนิ่ง
4.               การสาธิต                                                             10.  ทัศนสัญญลักษณ์
5.              การศึกษานอกสถานที่                                       11.  วัจนสัญญลักษณ์
6.              นิทรรศการ

                ...................................................................................................................................................................... 

ตัวอย่างสื่อการสอน 


งานนิทรรศการ 


สื่อโทรทัศน์ 


สื่อวิดิทัศน์ 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น