วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 32 e-Book


กว่าจะมาเป็น e-Book
            หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
           การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (
files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

     
เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader(.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป 
ความหมายของ e-Book
        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม 
DeskTop Author
3. โปรแกรม 
Flash Album Deluxe
     ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน 
e-Book 
ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด 
Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer

1.2 โปรแกรมชุด 
DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด 
Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player           

           
ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป
  ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี
    ภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล 
    (
update)
ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (
links) 
ออก
   ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ 
    ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
    สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม
 
 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
   หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
   สั่งพิมพ์ (
print)
ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน 
    ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
    จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน 
Handy Drive หรือ CD

12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ที่มา www.oknation.net/blog/freeday888/2009/08/25/entry-1 

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกพิเศษ บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน



นายยุทธเดช  อันทอง รหัส  54040382
คณะศึกษาศาสตร์    สาขาการสอนสังคมศึกษาฯ

 
จากตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ภาษาอังกฤษ ให้นิสิตวิเคราะห์ รูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในประเด็นดังนี้
1. หัวข้อ เรื่อง/วัตถุประสงค์ คืออะไร
ตอบ     หัวข้อเรื่องของของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือ “ การท่องเที่ยว”
 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
           
1.เพื่ออธิบายคำศัพท์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวให้นักเรียนได้เข้าใจมากขึ้น
           
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งฝึกทักษะคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียน
            3.เพื่อนำมาใช้เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับครู
           
4.เพื่อนำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยตนเอง ได้ทุกที ทุกเวลา และสามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วย
                               
2. ผู้เรียนหรือ ผู้ใช้งานคือใคร 
ตอบ                 1. นักเรียนหรือชาวต่างชาติเจ้าของภาษา แต่ยังไม่เข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
                         
2.นักเรียนหรือชาวต่างชาติที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาแต่มีความสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
                       
3.ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพราะเป็นคำศัพท์เฉพาะด้านที่จะใช้ในการเรียนและการทำงานทางด้านนี้

3. การดำเนินบทเรียนแบบใด เพราะอะไร จงอธิบาย
ตอบ      เป็นการดำเนินบทเรียนแบบสาขา (Branching) หมายถึง เนื้อหาแต่ละหน้าไม่ต่อเนื่องกัน ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าไปศึกษาในหน้าใดหน้าหนึ่งก่อนก็ได้ ตามความสนใจของผู้เรียน โดยเห็นได้จากตัวอย่างบทเรียน  ผู้เรียนสามารถเลือกกดเข้าไปเรียนรู้คำศัพท์คำใดก็ได้ และส่วนของแบบทดสอบมีการให้ผู้เรียนได้เลือกทำข้อใดก่อนก็ได้ และ สามารถย้อนกลับไปทำแบบทดสอบได้

4. จงเขียนผังงานของบทเรียนดังกล่าว 
ตอบ





5. หน้า จอภาพเป็นอย่างไร
ตอบ      5.1  รูปภาพและเนื้อหามีความคมชัดสูง มีคุณภาพ
           
5.2  ในการจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ ปริมาณข้อมูลในแต่ละหน้าค่อนข้างที่จะเหมาะสม เพราะเนื้อหาไม่มากเกินไป ทำให้แล้วสบายตา สร้างความสนใจให้เรียน มีข้อปรับปรุงในส่วนหน้าของแบบทดสอบ อาจจะปรับปรุงให้ข้อมูลไปอยู่ตรงกลาง เพราะมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ จะทำให้ผลงานออกมาดีขึ้น
           
5.3  องค์ประกอบด้านข้อความ
5.3.1 ขนาดตัวอักษรและ รูปแบบตัวอักษร (font) สามารถอ่านง่าย มีข้อเสียคือขนาดของตัวอักษรของส่วนเนื้อหามีขนาดเล็กไป อาจจะต้องปรับปรุงตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
5.3.2  ความหนาแน่นของตัวอักษร มีความเหมาะสมดีแล้ว เนื้อหาในแต่ละหน้าพอดีกับหน้าจอ

 5.3.3 สีของข้อความ ใช้สีได้ดี แต่มีส่วนน้อยเท่านั้น  โดยสีของตัวอักษรในบางหน้า มีความกลมกลืนกับพื้นหลังมากไป ทำให้ไม่สะดวกในการอ่าน                      
5.3.4  องค์ประกอบด้านภาพและกราฟฟิก ได้ใช้ภาพเพื่อกระตุ้นความคิด เช่น มีการรูปภาพที่สีสันสดใส สวยงาม ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น มีข้อเสียคือ มีภาพบางส่วน ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ สามรถปรับปรุงโดยการใช้รูปภาพที่มีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 31 บทความ 'วิวัฒนาการสังคมออนไลน์จากไฮไฟว์ถึงทวิตเตอร์'




 'วิวัฒนาการสังคมออนไลน์จากไฮไฟว์ถึงทวิตเตอร์' 
                   ธรรมชาติของมนุษย์มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและมีการพัฒนาในหลาย ๆ ด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้งานจึงเกิดเป็นสังคม ออนไลน์ขึ้นในปัจจุบัน
 
                    สังคมออนไลน์ ในความรู้สึกของเราทุกวันนี้คือความต้องการที่จะออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตเพื่อทำความรู้จัก พูดคุย ติดต่อสื่อสารกัน ชัชวาล สังคีตตระการ  ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความรู้ว่า ยุคนี้ถือเป็นยุคของเว็บ 2.0 โดยก่อนหน้านี้เราจะอยู่ในยุคของเว็บ 1.0 ที่มีการสื่อสารทางเดียวคือ การอ่านเพียงอย่างเดียว แต่ช่วงหลัง ๆ มนุษย์เราด้วยความที่เป็นสัตว์สังคมจึงไม่ต้องการสร้างเว็บแค่ให้อ่านเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถสร้างความพึงพอใจ  โดยการสร้างประวัติโดยย่อ และ มีแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ให้เลือก ใช้รวมทั้งสามารถโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นได้ด้วย จึงเกิดเป็นสังคมออนไลน์ขึ้น
 
                 เว็บไซต์เด่น ๆ ในบ้านเราที่เป็นสังคมออนไลน์ ได้แก่ ไฮไฟว์, มายสเปซ, เฟซบุ๊ก, มัลติพลาย และ ทวิตเตอร์  ส่วน เอ็มเอสเอ็น, ไอซีคิว นั้นเป็นการสนทนาออนไลน์หรือที่เรารู้จักว่า แชต ส่วน ยูทูบ ก็ไม่ได้จัดเป็นสังคมออนไลน์แต่ก็ถือเป็นส่วนประกอบได้เนื่องจากเป็นการแชร์คลิปวิดีโอสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่กัน เพราะคำจำกัดความของสังคมออนไลน์ คือต้องมีการเขียนประวัติแนะนำตัวเอง
 
                “ไฮไฟว์” เป็นสังคมออน ไลน์ที่ใหญ่ที่สุดติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 65 ล้านราย สมาชิกส่วนใหญ่   จะใช้ไฮไฟว์ในการติดต่อสื่อสาร  กับกลุ่มเพื่อน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แชร์รูปภาพและ คลิปวิดีโอกันดู ซึ่งในแต่ละวันจะมีสมาชิกเข้ามาใช้บริการจากทั่วโลกนับล้านราย มีการเปิดตัวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2546 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
                  ส่วนในประเทศไทยไฮไฟว์เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับ 1 แต่ขณะนี้เริ่มอิ่มตัวแล้ว นักท่องโลกไซเบอร์โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานจึงหันมาให้ความสนใจ “เฟซบุ๊ก” กันมากขึ้น เพราะเงียบสงบและมีข้อจำกัดในการสมัครมากกว่าไฮไฟว์ เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2547 โดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย  ฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกเปิดใช้งานเฉพาะนักศึกษาและต่อมา วันที่ 11 ก.ย. 2549 จึงขยายมาใช้สำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกคนเหมือนในปัจจุบัน สำหรับรูปแบบการใช้มีลักษณะคล้ายไฮไฟว์ คือ มีพื้นที่มากในการเขียนประวัติส่วนตัว ใส่รูปภาพ คลิปวิดีโอเพลง เล่นเกม ซึ่งเราสามารถปรุงแต่งพื้นที่ของเราในการแนะนำตัวเองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเสริมอื่น ๆ ที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินจำนวนมาก
 
                ในขณะที่ “ทวิตเตอร์” เกิดขึ้นได้ประมาณ 3 ปีแล้ว โดยเปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ปีเดียวกับเฟซบุ๊กที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และใช้กันในวงแคบ แต่ปัจจุบันในประเทศไทยมีกระแสดังขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งมีสถิติผู้สนใจเข้ามาเล่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีบุคคลสำคัญระดับประเทศอย่างนายกรัฐมนตรี นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารจนเป็นข่าวดังเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทำให้หลายคนที่ไม่เคยรู้จักทวิตเตอร์จึงอยากทดลองสมัครใช้บ้าง โดย ชัชวาล อธิบายว่า ทวิตเตอร์ คือ การติดต่อ  สื่อสารที่ไม่เป็นเรื่องเป็นราว เหมือนกับชื่อ ทวิต ความหมายคือ เสียงนกร้อง เวลานกร้องบอกกันก็จะร้องจิบ ๆ ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ การเล่นทวิตเตอร์จึงเหมือนเสียงนกร้องที่จะร้องบอกต่อกันไปเรื่อย ๆ 
 
                ทวิตเตอร์ เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก ที่ผู้ส่งสามารถส่งข้อความได้ยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่เหมือนเป็นการอัพเดทตัวเองให้ผู้ที่เราแอดไว้เป็นเพื่อนทราบได้หลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ทวิตเตอร์, อีเมล, เอสเอ็มเอส ฯลฯ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 หลักการคือ เราเป็นผู้ตาม หรือมีผู้ตามเรา ในเรื่องที่น่าสนใจ โดยส่วนใหญ่จะใช้กันในกลุ่มของนักวิจัย นักพัฒนา จึงแตกต่างจากไฮไฟว์และเฟซบุ๊ก เพราะทวิตเตอร์จะอาศัยความสนใจโดยที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกันมาก่อนเพื่อแชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน
 
                วิธีการเล่นนั้นหลังจากที่สมัครและแอดเพื่อนแล้ว หากใครที่ตามเราอยู่เวลาเราส่งข้อความหรือเรียกกันว่า “ทวิต” ข้อความก็จะถูกส่งไปถึงทุกคนที่สนใจตัวเราอย่างรวดเร็ว เช่น เรากำลังเศร้าหรือเสียใจอยู่ แต่จะตอบหรือไม่นั้นก็แล้วแต่ผู้รับ ส่วนการตามผู้ที่เราสนใจนั้นหากเขาทวิตอะไรมาเราก็จะทราบเรื่องของเขา เช่น คนดังอย่างนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ทวิตเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาก็จะทำให้เราทราบข่าวก่อนใครที่ไม่ได้เป็นเพื่อนหรือก่อนที่สื่อจะลงข่าวสร้างความใกล้ชิดกันมากขึ้น
 
                 แทบไม่น่าเชื่อว่าการที่เรารับรู้เรื่องราวของคนอื่นว่าใครทำอะไรอยู่ที่ไหนหรือใครรับรู้เรื่องราวของเราจะกลายเป็นเรื่องสนุกสนานทำให้ผู้คนมากมายหันมาสนใจสมัครเล่นกันมากขึ้นในเวลารวดเร็ว ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์เทคโน โลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอม พิวเตอร์แห่งชาติ ยังบอกอีกว่า วัตถุประสงค์ของการใช้สังคม ออนไลน์ คือ ความอยากเป็น  ที่สนใจและยอมรับ เนื่องจาก  ธรรมชาติของมนุษย์อยากแนะนำตัวเองแต่ไม่กล้า พอมีเนื้อที่ให้ขีดเขียนแสดงตัวตนและแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันทำให้สร้างความสนใจได้เป็นอย่างดี กระแสสังคมออนไลน์จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น ยิ่งมีเพื่อนเข้ามาแอดหรือมาแสดงความคิดเห็นทำให้เรารู้สึกดีใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์กว้างขึ้น ไม่ใช่เพียงรู้จักกันในกลุ่มเพื่อนเท่านั้น แต่ทำให้คนเราสามารถรู้จักกันได้ทั่วโลก บางครั้งเพื่อนที่ไม่เคยเจอกันมา 10-20 ปี ก็โคจรมาเจอกันในสังคมออนไลน์นี้ จึงทำให้โลกแคบลงโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปมาหากัน
 
                 นอกจากวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ขณะนี้ทวิตเตอร์เองก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในกลุ่มด้านการตลาด องค์กร และผู้ขายสินค้าแบรนด์ดังต่าง ๆ ที่หันมาใช้ทวิตเตอร์ในการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าผู้บริโภคสนใจก็ติดตามและซื้อสินค้าแบรนด์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามด้วยความที่สะดวก ประหยัด รวดเร็วและสามารถรับผ่านโทรศัพท์มือถือได้ทำให้สำนักข่าวต่าง ๆ หันมาใช้ทวิตเตอร์กันมากขึ้นอีกด้วย
 
                   ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ หากเรารู้จักใช้ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด แต่หากใช้ไม่เป็นอาจกลายเป็นเหมือนดาบสองคม เพราะบางทีสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากจากทุกแห่งหนเข้ามาโพสต์ข้อความเพื่อ สร้างตัวตนให้ตัวเองดูดีก็เปรียบเสมือนเป็นโลกใบหนึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง บางครั้งก็ไม่เป็นความจริงเสมอไป เราจึงต้องรู้จักเตือนใจตัวเองไว้อยู่เสมอถึงแม้จะมีระบบความปลอดภัยในตัวเทคโนโลยีในระดับหนึ่ง แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเพื่อน  ที่เรารู้จักจาก 100 คน จะไม่มีมิจฉาชีพแอบแฝงมาด้วย เพราะที่ผ่านมาก็มีข่าวในลักษณะนี้  อยู่บ่อย ๆ จึงอย่าพยายามโพสต์ ข้อความที่เป็นเรื่องส่วนตัวมากเกินไป เช่น ตอนนี้เหงาจังอยู่บ้านคนเดียวหรือว่าจะไปเที่ยวและไม่มีคนอยู่บ้านหลายวัน เพราะเป็นการเปิดช่องทางให้พวกมิจฉาชีพที่จับจ้องเราอยู่ทราบความเคลื่อนไหวและมีโอกาสก่อเหตุร้ายขึ้นได้ทุกเมื่อ
    
ดังนั้นความปลอดภัยอยู่ที่ตัวเราเองว่าจะป้องกันตัวได้มากน้อยแค่ไหน..?


                                           






บทความโดย กรวิกา คงเดชศักดา







บันทึกครั้งที่ 30 ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย



ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย 

ทศวรรษ 2540 การแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ (พ.ศ.2540-2549) 
• 10 พฤศจิกายน 2540 ททบ 5 จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network แพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปต่างประเทศทั่วโลก
• 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี รวมบริษัทกันเป็น ยูบีซี (United Broadcasting Corporation) ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก
• มิถุนายน 2548 อสมท ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกลายมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด มหาชน
                        ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้น ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม พระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการ ก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้น ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น 

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้ง โทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทย อีกครั้ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญ ที่สามารถแบ่งได้ตามทศวรรษต่างๆ ดังนี้ 


ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499) 
• 2492 สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของ กรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียน บทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิด ในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึง ความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ใน ประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหา เศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อม ที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้า ที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็น ของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานี 


ทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509) 
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง



ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519) 
• 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก
• 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
• 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี
• 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศใน ระบบสี
- และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 โดยออกอากาศในระบบสี ทำให้สิ้นสุด ทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน 


ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521) 
• เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี
• 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน


ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก
• 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ
• 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
• ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด
• 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ)
• พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
• 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ 

ปัจจุบัน (2550) สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ได้เปลี่ยนเป็น ThaiPBS ทีวีสาธารณะ และสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ได้เปลี่ยนเป็นสถานี NBT แล้วตามนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้น



วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 29 ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์ของโลก

ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์ของโลก 




                     ในปี พ.ศ. 2360 จาคอบ เบอร์เซเบียส (Jacob Berzebius) ได้ค้นพบธาตุชนิดหนึ่งและตั้งชื่อว่า ซีลีเนียม ต่อมาเขาได้นำไปประดิษฐ์เป็นโฟโตอีเลคตริกเซลซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าและเซลไฟฟ้าชนิดนี้เองทำให้เกิดโทรทัศน์ขึ้น ในระยะเวลาใกล้ ๆ กัน วิลเลียม ครุก (William Crook) ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าชนิดหนึ่งเรียกว่า หลอดครุก ซึ่งนับว่าเป็นต้นกำเนิดของหลอดรังสีแคโธดในปัจจุบันนี้ ต่อมามีนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการทดลองในเรื่องโทรทัศน์โดยได้รวบรวมเอาความคิดเห็นและผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ เช่นของ จอห์นแอมโบรส เฟลมิง (John ambrose Fleming) และโธมัส เอดิสัน (Thomas A Edison) มาใช้
     ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2407 เจมส์ แมกเวลล์ (James Clerk Maxvell) ได้ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ คลื่นแม่เหล็ก และ คลื่นไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปด้วยกัน แต่คลื่นทั้งสองตั้งฉากกัน ซึ่งต่อมาก็นำมาใช้เป็นคลื่นพาห์ซึ่งเป็นนำคลื่นเสียงในวิทยุและนำทั้งคลื่นเสียงและภาพในโทรทัศน์ เป็นการแพร่สัญญาณจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับซึ่ง รูดอล์ฟ เฮิร์ทซ์ (Rudolph Henrich Hertz) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ผลิตเครื่องมือที่สามารถนำเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารและได้ประกาศให้โลกยอมรับรู้เมื่อ พ.ศ.2429 และให้สื่อสิ่งที่เขาค้นพบว่า คลื่นเฮิร์ทซ์ (Hertzain Wave) และชื่อของเขาก็ได้รับการยกย่องให้ใช้เรียกหน่วยของความถี่คลื่นวิทยุทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้หน่วยของความถี่ (จำนวนที่เคลื่อนที่ผ่านจุดหนึ่งจุดใดในเวลา วินาที) เรียกว่า ไซเกิ้ล
     ในศตวรรษที่ 19 นี้ ได้มีผู้ค้นพบโทรทัศน์ขึ้น คือ ปอล นิพโกว์ (Paul Nipkow) ชาวเยอรมัน ได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้ภาพเป็นเส้นทางบนจอได้ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโทรทัศน์
     ดร.วีเค ชวอร์กิ้น (Dr.V.K. Zworgkin) นักวิทยาศาสตร์ชาวรุสเซียที่โอนสัญชาติเป็นอเมริกัน ได้ค้นพบหลอดจับภาพไปสู่จอภาพที่สมบูรณ์ขึ้น เขาได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์เมื่อปี พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) และให้ชื่อสิ่งที่ค้นพบนี้ว่า ไอโคโนสโคฟ (Iconoscope) ซึ่งไอโคโนสโคฟนี้ใช้ทฤษฎีของ ปอล นิพโกว์
     จอห์น โลจิก แบร์ด (John Logic Baid) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเกิดที่สก๊อตแลนด์ได้อาศัยทฤษฎีของ ปอล นิพโกว์ ค้นคว้าทดลองต่อมาจนแสดงให้ชาวโลกดูได้ว่าเขาสามารถจับภาพเข้าเครื่องส่งแล้วส่งมาออกที่จอภาพที่เครื่องรับโทรทัศน์ได้สำเร็จและแสดงให้นักวิทยาศาสตร์และบุคคลชั้นนำของประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2469 และสถานีวิทยุบีบีซี (British Broadcasting Corporation) ก็ได้นำสิ่งประดิษฐ์ของแบร์ดไปทดลองออกอากาศให้คนอังกฤษได้ชมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2472
     สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกคือ บีบีซี ของอังกฤษแพร่ภาพออกสู่ประชาชนเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ.2479ได้มีพิธิเปิดแพร่ภาพเป็นครั้งแรกที่พระราชวังอเล็กซานด้าในกรุงลอนดอน โดยได้ใช้วิธีการสแกนภาพระบบของแบร์ด ในขณะนั้นทั่วประเทศอังกฤษมีเครื่องรับเพียง 100 เครื่องเท่านั้น แพร่ภาพครั้งหนึ่งไม่เกิน ชั่วโมง จัดเป็นช่วงแพร่ภาพ ช่วง ภาพที่เครื่องรับกว้าง 10 นิ้ว ยาว 12นิ้ว ราคาเครื่องละประมาณ 6,000 บาท ในสมัยนั้นนับว่าแพงมาก แต่ในชั่วระยะเวลา ปี ในอังกฤษก็มีเครื่องรับถึง 3,000 เครื่อง
     ในสหรัฐอเมริการได้ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นเครือข่ายร่วมกันทดลอง 17 สถานี ในปี พ.ศ.2480 ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้สร้างสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกในมลรัฐนิวยอร์ก โดยบริษัทซีบีเอส ปีถัดมาคือ พ.ศ.2482 บริษัทเอ็นบีซี แพร่ภาพออกอากาศเช่นกัน
     จากเอกสารของ UNESCO ได้แสดงรายการของการตั้งสถานีโทรทัศน์ของประเทศต่าง ๆ ดังนี้คือ
ปี พ.ศ. 2493 เม็กซิโก
ปี พ.ศ. 2494 อาเยนตินา บราซิล เนเธอร์แลนด์ สเปน
ปี พ.ศ. 2496 สาธารณรัฐเชค ญี่ปุ่น ฟิลิปินส์ สวิสเซอร์แลนด์
ปี พ.ศ. 2479 บัลโคลัมโบ เดนมาร์ค อิตาลี โมรอคโค นอร์เวย์ เปอโตริโก สวีเดน
ปี พ.ศ. 2498 ไอซ์แลนด์ ลัคเซมเบอร์ค ประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2499 อัลยิเรีย ออสเตรเลีย ไซปรัส เอลซาลวาดอร์ กัวเตมาลา อีรัค เกาหลี นิคารากัว ปอร์ตุเกส อุรุกวัย
ปี พ.ศ. 2500 ฟินแลนด์ ฮ่องกง รูมาเนีย ซาอุดิอารเบีย
ปี พ.ศ. 2501 เบอมิวดา จีน อิหร่าน ฮังการี
ปี พ.ศ. 2502 ไฮติ ฮอนดูรัส อินเดีย เลบานอน นิวซีแลนด์ ไนยีเรีย และปานามา
ปี พ.ศ. 2503 อียิปต์ คอสตาริกา โรดิเซีย ซีเรีย
ปี พ.ศ. 2504 อัลบาเนีย โบลิเวีย กัมพูชา ไอร์แลนด์ แซมเบีย
ปี พ.ศ. 2505 ไอวอรี่โคลท์ เคนยา มัลตา ซีราลิออน ไต้หวัน ทรินแดด โตมาโก
ปี พ.ศ. 2506 กามอน มาเลเซีย และสิงคโปร์

ที่มา ww.thaigoodview.com/node/10754 

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกพิเศษ แบบฝึกหัดแหล่งการเรียนรู้

แบบฝึกหัดงานกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน พร้อมภาพประกอบ ในวันที่ 6-7-8 กันยายน 2554




1.              แหล่งการเรียนรู้หมายถึงอะไร
ตอบ    แหล่งการเรียนรู้  หมายถึง แหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่สามารถทาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ได้ด้วยตนเอง จากการได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยและต่อเนื่อง จนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสุดท้ายก็เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้



2.              หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพราะอะไร
ตอบ   หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเป็นแหล่งการเรียนรู้ เพราะ มีสื่อการเรียนรู้ที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการนำเสนอที่น่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น



3.              หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเหมาะกับการสอนกลุ่มสาระใด
ตอบ  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ






4.              แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกนาเสนอรายละเอียดของเนื้อหาใดบ้าง
ตอบ      
4.1       แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี
ได้นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ ที่อายุถึง 4500 – 4000 ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
4.2       แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี
ได้นำเสนอเรื่องราวของโบราณคดีก่อนประวัตศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่พบ    หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 4500 – 4000 ปี มาแล้วจากทะเลอันเป็นหลัก และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า 400 ปี




5.              วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศเป็นอย่างไร
ตอบ  วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศได้กล่าวถึง การติดต่อกันทางทะเลกับเมืองภายนอกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จนกระทั่งมาถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นได้มีการติดต่อสัมพันธ์วัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้เกิดเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีการพัฒนาร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองวัฒนธรรมทวารวดี ที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบดังนี้
วัฒนธรรมทวารวดี พบหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมยุคแรกในเขตโบราณศรีมโหสถ ได้แก่ รอยพระพุทธบาทคู่ พระพุทธรูปหินทรายนาคปรก ฯลฯ
ดินแดนโพ้นทะเล  พบหลักฐานทางโบราณคดีใต้น้ำ บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก พบแหล่งเรือจมเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า ตลอดแนวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก คือ เส้นทางการค้าทางทะเลที่สำคัญโดยเฉพาะการค้ากับจีนและญี่ปุ่นในสมัยสุโขทัยและอยุธยา
อาณาจักรเขมรโบราณ  พบโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะเขมรเป็นจำนวนมาก และวัตถุสำริดซึ่งมีการกล่าวถึงพระนามของกษัตริย์เขมรโบราณ




6.              ให้นิสิตบันทึกภาพตัวอย่างประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale พร้อมคาอธิบาย ตัวอย่าง ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale ที่มีอยู่ในหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก
1.การศึกษานอกสถานที่  (Field  Trip) คือ การที่ได้ไปทัศนศึกษาที่หอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งภาคตะวันออกมหาวิทยาลัยบูรพา
                   
                                                     



     2.นิทรรศการ  (Exhibits) คือ การจัดแสดงเรื่องต่าง ๆในรูปแบบนิทรรศการ

                 

       



 3. ภาพยนตร์  (Motion  Picture) คือ การฉายภาพยนต์แนะนำหอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งภาคตะวันออก

                        



4.  ภาพนิ่ง  วิทยุ  และแผ่นเสียง  (Recording, Radio, and  Still  Picture) คือ รูปภาพต่างๆที่นำมาแทนวัตถุจริง
      



5.ทัศนสัญญลักษณ์  (Visual  Symbols) คือ การจัดแสดงแผนผังของแหล่งโบราณคดีต่างๆ
         







6.วจนสัญญลักษณ์  (Verbal  Symbol) คือ การบรรยายของวิทยากรให้ได้ฟัง





 7.ประสบการณ์จำลอง คือ การจำลองสถานที่ต่างๆ เช่นหุ่นจำลองอุโบสถวัด









7. ให้นิสิตบันทึกภาพถ่ายกลุ่มของตนเองในการเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการดังกล่าว




จัดทำโดย
นางสาวกิติยาพร พงศ์แพทย์   รหัสนิสิต 54040103
นายณัฐพงศ์        นิชเปี่ยม       รหัสนิสิต  54040107
นายยุทธเดช         อันทอง       รหัสนิสิต 54040382
คณะศึกษาศาสตร์ เอกการสอนสังคมศึกษาฯ